มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีการกำหนดงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมไว้ในยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาความเป็นเลิศทางการวิจัย บริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ โดยมีอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ทำหน้าที่ประสานและแสวงหาเครือข่ายและทรัพยากรจากภายในและภายนอกในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้และการศึกษาวิจัยด้านศิลปะและวัฒนธรรม บูรณาการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมกับพันธกิจการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และอื่น ๆ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่มีชีวิตชั้นนำของภาคใต้ตอนบน ที่มุ่งเน้นการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การวิจัย การถ่ายทอดภูมิปัญญา และสืบสานประเพณีอันดีงามของไทย 

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ได้ดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษา บุคลากรและประชาชนทั่วไป เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบสาน รักษาและต่อยอดงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ปลูกฝังให้เยาวชนตระหนักถึงคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น นำไปสู่การสืบทอดให้คงอยู่คู่สังคมไทยสืบไปผ่านโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ โดยมีทั้งโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ และกิจกรรมแบบเฉพาะกิจที่ได้สนับสนุน ส่งเสริม หรือเข้าไปมีส่วนร่วมกับส่วนราชการ องค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน หรือหน่วยงานภายนอก

โครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ แบ่งเป็น 3 หมวดกิจกรรมหลัก คือ

1.  กิจกรรมหลักส่งเสริมวิชาการด้านศิลปะและวัฒนธรรม อาทิ การดำเนินงานวารสารวิชาการด้านศิลปะและวัฒนธรรมสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ “Asian Journal of Arts and Culture” การจัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน” โครงการศึกษาความเชื่อมโยงของอายุแหล่งโบราณสถานตุมปังกับแหล่งโบราณสถานอื่น ๆ โครงการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมและพัฒนาทักษะและสร้างเกณฑ์มาตรฐาน ด้านศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ (หลักสูตรฝึกอบรมศิลปะการแสดงรำมโนราห์ออนไลน์) โครงการคัดเลือกปราชญ์ไทยภาคใต้

2. กิจกรรมหลักอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม อาทิ การจัดกิจกรรมเชิงประเพณีและเทศกาล ได้แก่ โครงการวลัยลักษณ์สงกรานต์สืบสานความเป็นไทยใส่ใจสิ่งแวดล้อม โครงการสืบสานประเพณีบุญสารทเดือนสิบจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการวลัยลักษณ์ลอยกระทง เสริมส่งประเพณี สู่วิถีธรรมชาติ และจัดโครงการเนื่องในวันสำคัญและประเพณีสำคัญของศาสนา ในนามมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (สร้างบัณฑิตที่พึงประสงค์ เป็นคนดีและคนเก่ง) ได้แก่ งานประเพณีทำบุญทอดกฐินสามัคคี กิจกรรมทำบุญทวดตุมปัง กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาศาสนสถาน กิจกรรมสืบสานประเพณีทำบุญให้ทานไฟ กิจกรรมมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ (ขบวนผ้าพระบฎ มวล.บูชาพระบรมธาตุ) กิจกรรมถวายเทียนพรรษา พร้อมทั้งจัดการโครงการประกวดแข่งขันด้านศิลปะและวัฒนธรรม เช่น การประกวดร้องเพลงร้องเรือเด็กภาคใต้ (เพลงกล่อมเด็ก) การประกวดเขียนเรียงความ การประกวดขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง การประกวดขับกลอนและพูดเลียนเสียงตัวตลกหนังตะลุง การประกวดเพลงบอกเยาวชน

3. กิจกรรมหลักงานอุทยานโบราณคดี อาทิ กิจกรรมฝึกอบรมยุวมัคคุเทศก์ 3 ภาษา (ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน) โครงการพัฒนาสื่อสารสนเทศเพื่อการนำชมและเผยแพร่ด้านอุทยานโบราณคดี

และอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี อาทิ โครงการศึกษาและรวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช โครงการศึกษา (ปริวรรต) เอกสารโบราณ ประเภทหนังสือบุด โครงการ “ค่ายเยาวชนรักษ์โบราณสถาน เรียนรู้วัฒนธรรมและธรรมชาติ” ฯลฯ

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ได้มีการดำเนินงานภารกิจสำคัญ ๆ และมีผลงานเด่นดังต่อไปนี้

1. ศึกษาวิจัยโบราณสถานภายในมหวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยเชื่อมโยงกับจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ดำเนินการจัดทำข้อเสนอโครงการชุดวิจัยโบราณสถานตุมปังซึ่งประกอบไปด้วย 6 โครงการวิจัยย่อย คือ

  1. โครงการศึกษาอายุสมัยของโบราณสถานตุมปังโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
  2. โครงการศึกษาวิจัยโครงสร้างสันนิษฐานโบราณสถานตุมปัง
  3. โครงการศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างโบราณสถานตุมปังกับโบราณวัตถุ
  4. โครงการศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ของแหล่งโบราณสถานตุมปังกับละอองเรณูในชั้นดิน
  5. โครงการศึกษาวิจัยความสัมพันธ์ของโบราณสถานตุมปังกับระบบความเชื่อ
  6. โครงการศึกษาวิจัยเชิงเปรียบเทียบแหล่งโบราณสถานตุมปังกับแหล่งโบราณสถานอื่น ๆ

2. นำระบบเทคโนโลยีมาปรับใช้กับการเรียนรู้ เยี่ยมชมโบราณสถาน คือ Application AR Tumpung พร้อมให้บริการความรู้และนำชมโบราณสถานตุมปังตามอัธยาศัย ในอนาคตจะดำเนินการนำผลการสรุปจากชุดโครงการวิจัยย่อยศึกษาโครงสร้างสันนิษฐานโบราณสถานมปัง ไปจัดทำเป็นโมเดลจำลองและประสานความร่วมมือกับสำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ในการดำเนินการพัฒนาต่อยอดสู่การนำไปจัดทำสื่อสารสนเทศนำชมโบราณสถานตุมปังด้วย Application ภาพเสมือนจริง จำลองภาพอาคารแหล่งโบราณสถานตุมปัง เพื่อการสร้างความน่าสนใจในการชมและเรียนรู้ประวัติศาสตร์โบราณสถานตุมปังต่อไปในอนาคต

3. การอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม มีการดำเนินงานผ่านทางอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ บูรณาการร่วมกับสำนักวิชาและหน่วยงานอื่น ๆ ภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งได้จัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เพื่อมุ่งพัฒนาและยกมาตรฐานทักษะผลงานของนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนการสร้างเกณฑ์มาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรม อีกทั้งเป็นการปลูกฝังและส่งเสริมให้เยาวชนตระหนักถึงคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น นำไปสู่การสืบทอดให้คงอยู่คู่สังคมไทยสืบไป

4. จัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความสัมพันธ์หรีอวิถีชีวิตแบบใหม่ที่สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัยหรือพัฒนาประเทศ ได้แก่

  • โครงการอบรมยุวมัคกุเทศก์นำชมโบราณสถานตุมปังเป็น 3 ภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาจีน
  • โครงการศึกษาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมอาเซียน ณ Far Eastern University ร่วมกับสำนักวิชาสหเวชศาสตร์
  • ค่ายนานาชาติเพื่อการศึกษานิเวศวิทยาชายฝั่งและการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 2 ร่วมกับสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร
  • โครงการศึกษาสมุนไพรในวัฒนธรรมอาเซียน ร่วมกับสำนักวิชาเภสัชศาสตร์
  • โครงการประวัติศาสตร์และมรดกไทยเพื่อการท่องเที่ยว ร่วมกับสำนักวิชาการจัดการ
  • ระบบสารสนเทศผ้าทอในจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับสำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์
  • โครงการศึกษาเอกลักษณ์วัฒนธรรม “หลาดหน้าวัดพระมหาธาตุ” ร่วมกับสำนักวิชารัฐศาสตร์
  • การปรับตัวสู่ความเป็นผู้มีวัฒนธรรมด้านจิตอาสาและการครองชีวิตโดยใช้หลักศาสนา ร่วมกับสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์
  • งานแสดงผลงานศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่หลากหลายในสังคมร่วมกับสำนักวิชาศิลปะศาสตร์
  • โครงการถ่ายภาพเพื่อเก็บข้อมูลมรดกและวัฒนธรรมพื้นถิ่นร่วมกับสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
  • โครงการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมท้องถิ่นภาคใต้ร่วมกับสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

5. จัดค่ายวัฒนธรรมนานาชาติ ครั้งที่ 3 โดยศูนย์กิจการนานาชาติ ระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2562 ภายใต้แนวคิด “วัฒนธรรมไร้พรมแดน” โดยมีนักศึกษา 200 คน แบ่งเป็นเยาวชนไทย 70 คนและเยาวชนต่างชาติ 130 คน จาก 26 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วม 

รายละเอียดเพิ่มเติม
– ผลการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปี 2562
ประมวลภาพกิจกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปี 2562
– วลัยลักษณ์ลอยกระทง 2562 
ค่ายวัฒนธรรมนานาชาติ – เปิดม่าน “โบราณสถานตุมปัง” 2562 
– ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปี 2562 

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ได้ดำเนินการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญของภาคใต้ เผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้การวิจัยโบราณสถานตุมปังให้เป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ดำเนินโครงการวิจัยโดยทุนสนับสนุนของ อพ.สธ. และโครงการด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมที่ได้รับการอนุรักษ์ พื้นฟู พัฒนาและต่อยอด จำนวน 22 โครงการ โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม กว่า 7,800  คน ร้อยละความพึงพอใจคิดเป็น ร้อยละ 94.30 รวมถึงได้ยกระดับสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์สู่มาตรฐาน TCI กลุ่ม 1

1.
จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญของภาคใต้ ได้ดำเนินการประสานผู้ทรงคุณวุฒิในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมจนได้รับการรับรองจากกระทรวงวัฒนธรรม โดยในปีนี้อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มวล. ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม พัฒนาหลักสูตรศิลปะการแสดงโนราพื้นฐานสำหรับเยาวชน เมื่อวันที่ 27-28 มิถุนายน 2563

2. เผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้การวิจัยโบราณสถานตุมปังให้เป็นที่รู้จักทั่วประเทศ โดยทำโครงการสำรวจแหล่งโบราณสถานตุมปังด้วยเทคโนโลยี 3D laser Scanner และเทียบเคียงโครงสร้างสันนิษฐานกับแหล่งโบราณสถานในช่วงยุคเดียวกัน ศึกษาวิเคราะห์อิฐเพื่อกำหนดอายุแหล่งโบราณตามเส้นทางประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราชด้วยวิธีเรื่องแสงความร้อน (Thermoluminescence dating: TL) และได้พัฒนาบทความจากงานวิจัยหาค่าอายุแหล่งโบราณสถานตุมปังด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเรียบเรียงบทความเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อเสนอตีพิมพ์ในวารสารวิชาการฐานข้อมูลระดับนานาชาติต่อไป นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้มีโครงการพัฒนา Application AR Tumpung เพื่อให้บริการความรู้และนำชมโบราณสถานตุมปังตามอัธยาศัย รวมทั้งมีวิทยากรบรรยายแก่ผู้สนใจ โดยในปีนี้มีผู้เข้าชมโบราณสถานตุมปังจำนวนกว่า 2,500 คน 

3. ดำเนินโครงการวิจัยโดยทุนสนับสนุนของ อพ.สธ. จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 

  • โครงการศึกษาและรวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช เพื่อจัดทำแผนที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดีเมืองนครศรีธรรมราช กรณีศึกษาเส้นทางประวัติศาสตร์พื้นที่อำเภอท่าศาลา – วัดพระบรมธาตุ เมืองนคร (หาดทรายแก้ว) ได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวน 238,200 บาท 
  • โครงการศึกษา (ปริวรรต) เอกสารโบราณ ประเภทหนังสือบุด เพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในเอกสารโบราณ และองค์ความรู้ด้านอื่น ๆ ที่ปรากฎ ไปจัดระบบหมวดหมู่และนำไปเผยแพรในระบบฐานข้อมูลสารสนเทศของ อพ.สธ. ได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวน 204,000 บาท

4. การอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อเป็นการปลูกฝังและส่งเสริมให้เยาวชนตระหนักถึงคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น นำไปสู่การสืบทอดให้คงอยู่คู่สังคมไทยสืบไป โดยมีการดำเนินงานผ่านทางอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์บูรณาการร่วมกับสำนักวิชาและหน่วยงานอื่น ๆ ภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งได้จัดกิจกรรมรวม 16 โครงการ ดังนี้

  • โครงการวลัยลักษณ์สงกรานต์ สืบสานความเป็นไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
  • โครงการสืบสานประเพณีบุญสารทเดือนสิบจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • โครงการวลัยลักษณ์ลอยกระทงเสริมส่งประเพณี สู่วิถีธรรมชาติ
  • กิจกรรมทอดกฐินในนามมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ งานบุญทอดกฐินสามัคคีวัดแส็งแร็ง
  • กิจกรรมทำบุญทวดตุมปัง ประจำปี 2563
  • กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาโบราณสถานตุมปัง
  • กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาวัดแส็งแร็ง
  • กิจกรรมสืบสานประเพณีบุญให้ทานไฟ
  • กิจกรรมมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ
  • กิจกรรมแห่เทียนเข้าพรรษา ประจำปี 2563
  • โครงการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมผ่านสื่อวิทยุรายการ “ปริทัศน์วัฒนธรรม”
  • กิจกรรมบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์หลาทวดตุมปัง
  • ฝึกอบรมโครงการสื่อสร้างสรรค์ปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น หัวข้อ “ตามรอยโบราณสถานเมืองนคร” 
  • โครงการอุทยานคนดี ณ สวนวลัยลักษณ์
  • ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีสถานปฏิบัติธรรมชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา
  • โครงการนครศรีธรรมราช นครเมืองพระ

นอกจากนี้ ยังมีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโบราณสถานตุมปังในรูปแบบ เว็บไซต์ แผ่นพับ และบริการนำชมพร้อมวิทยากรบรรยาย และจัดทำแอพลิเคชั่น ภาพเสมือนจริงโบราณตุมปัง และผยแพร่องค์ความรู้และข่าวสารด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมทางเว็บไชต์ https://cultural.wu.ac.th

5. ยกระดับสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์สู่ มาตรฐาน TCI กลุ่ม 1 ผ่านระบบฐานข้อมูล THAIJO โดยกำหนดยื่นเสนอขอรับการพิจารณาจัดกลุ่มใหม่จากกลุ่ม 2 ให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน TC กลุ่ม 1 ภายในวันที่ 31 มกราคม 2564 และดำเนินการเตรียมความพร้อมพัฒนามาตรฐานวารสารสู่การรับรองมาตฐาน ACI และมาตรฐาน Scopus โดยการเพิ่มอัตราการ Citation ให้เชื่อมโยงกับ Endnote ให้ง่ายต่อการค้นหาอ้างอิง และปรับรูปแบบเว็บไชต์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติม
– ผลการดำเนินงาน ประจำปี 2563 
ประมวลภาพกิจกรรม ประจำปี 2563 
ม.วลัยลักษณ์ ร่วมสืบสานประเพณีทำบุญให้ทานไฟ 2563 
วลัยลักษณ์ลอยกระทง 2563 
ประเพณีทำบุญให้ทานไฟ 2563

 

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้มีการดำเนินงานภารกิจสำคัญ ๆ และมีผลงานเด่นดังต่อไปนี้

1. จัดตั้งอาคารแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมภาคใต้ “อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์” มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนการจัดตั้งอาคารแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมภาคใต้ “อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์” ตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อเป็นศูนย์กลางของการทำนุบำรุง รักษาและเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมของภาคใต้ รวมถึงส่งเสริมความสัมพันธ์หรือวิถีชีวิตแบบใหม่ที่สอดคล้องกับการพัฒนามหาวิทยาลัยและพัฒนานาฏศิลป์ของภาคใต้ ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าเป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่ยั่งยืน เป็นการสร้างพื้นที่ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม ส่งเสริมให้ประชาชนไม่ลืมรากเหง้าทางวัฒนธรรม สร้างความมั่นคงในการพัฒนาประเทศได้ด้วย โดยอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ได้ดำเนินการจัดทำกรอบแนวคิด ลักษณะอาคารและพื้นที่ใช้สอยภายใน ดำเนินการประมาณราคากลางอาคาร เพื่อขอตั้งงบประมาณรายการก่อสร้างจากภาครัฐ ในปีงบประมาณ 2565 และดำเนินการออกแบบนิทรรศการภายในอาคารแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมภาคใต้ โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการขับเคลื่อนข้อมูลด้านวิชาการ และรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาในแต่ละหัวข้อนิทรรศการ ซึ่งเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 ได้ประชุมเพื่อพัฒนาแบบอาคารแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมภาคใต้ “อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์” โดยดึงอัตลักษณ์ของแหล่งโบราณสถานตุมปัง ให้สอดคล้องกับอาคาร 

2. ขับเคลื่อนงานวิจัยด้านศิลปะและวัฒนธรรม บูรณาการร่วมกับสำนักวิชาและภาคีภายนอก อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของมรดกและทรัพยากรทางวัฒนธรรมจึงจัดทำข้อมูลโบราณวัตถุที่ขุดพบในแหล่งโบราณสถานตุมปังด้วยวิธี 3D Laser Scanner เพื่อผลิตสื่อมัลติมีเดียประกอบการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พร้อมทั้งพัฒนาเป็น Application AR (Augmented reality) ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยี 3D มาผสานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริงเข้าด้วยกัน เพื่อให้กระบวนการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีที่มีชีวิต เข้าถึงง่ายผ่านสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยได้รับเงินสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานโครงการดังกล่าวเป็นเงิน 244,860 บาท จากโครงการสนองพระราชดำริฯ อพ.สธ. ประจำปีงบประมาณ 2564 ซึ่งเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ร่วมกับหลักสูตรเทคโนโลยีมัลติมีเดีย แอนิเมชัน และเกม สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลโบราณวัตถุที่ขุดพบในแหล่งโบราณสถานตุมปังด้วยวิธี 3D Laser Scanner ณ สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช

3. ยกระดับโบราณสถานตุมปังสู่โบราณสถานที่มีชีวิตผ่านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ได้ดำเนินการผ่านโครงการ ดังต่อไปนี้

  1. โครงการฝึกอบรมยุวมัคคุเทศก์ โบราณสถานตุมปัง 3 ภาษา (ภาษาไทย อังกฤษ จีน)
  2. เปิดบริการนำชมโบราณสถานตุมปัง
  3. โครงการพัฒนาเทคโนโลยีโลกความเป็นจริงเสมือน VR Toompung
  4. พัฒนาภูมิทัศน์โบราณสถานตุมปัง
  5. โครงการศึกษาพรรณไม้ในพื้นที่โบราณสถานตุมปัง

4. การจัดทำหลักสูตรศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบออนไลน์ อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ได้สนับสนุนงบประมาณจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรมในการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมโนราออนไลน์เป็นจำนวนเงิน 260,000 บาท เพื่อรองรับการเสนอโนราขึ้นบัญชีเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ภายใต้กลยุทธ์หลักที่มุ่งเน้นให้เยาวชนเกิดความตระหนักรู้ และการรับรู้เกี่ยวกับศิลปะการแสดงโนรา ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงสร้างความร่วมมือและเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยชุมชน โรงเรียน โดยมีการจัดทำหลักสูตรอบรมด้านศิลปะและวัฒนธรรม การแสดงพื้นบ้านภาคใต้ “มโนราห์” ออนไลน์สำหรับเยาวชน จำนวน 4 หลักสูตร คือ 

  1. หลักสูตรการแสดงมโนราห์พื้นฐานสำหรับเยาวชน กลุ่มร้อง 
  2. หลักสูตรการแสดงมโนราห์พื้นฐานสำหรับเยาวชน กลุ่มรำ 
  3. หลักสูตรการแสดงมโนราห์พื้นฐานสำหรับเยาวชน กลุ่มดนตรี 
  4. หลักสูตรการแสดงมโนราห์พื้นฐานสำหรับเยาวชน กลุ่มพราน

5. ยกระดับสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์สู่ TCI กลุ่ม 1 อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ดำเนินการพัฒนาด้านการจัดการคุณภาพมาตรฐานของสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ เลขISSN 2228 804x ซึ่งเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม) ให้เข้าสู่ฐานข้อมูลระดับนานาชาติในปี 2567 โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบเนื้อหาให้มีความเฉพาะเกี่ยวกับด้านศิลปะและวัฒนธรรม รวมถึงการปรับเปลี่ยนกองบรรณาธิการให้มีหลากหลายประเทศ และเปิดรับบทความในรูปแบบภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งเปลี่ยนรูปแบบการเผยแพร่จากเดิมเผยแพร่ในรูปเล่มเอกสาร เปลี่ยนเป็นการเผยแพร่ออนไลน์ผ่านทางออนไลน์ และเปลี่ยนชื่อวารสารเพื่อให้มีความเป็นสากล บ่งบอกขอบเขตเนื้อหาของวารสารในการรับพิจารณาผลงาน โดยเปลี่ยนจากชื่อเดิม คือ สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ เป็นชื่อใหม่ คือ Asian Journal of Arts and Culture

6. มุ่งเป้าการจัดกิจกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรม “เบญจประเพณี ที่ห้ามพลาด” เพื่ออนุรักษ์และสืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่มีมาช้านานให้ดำรงอยู่คู่สังคมไทยสืบไป ประกอบด้วย 

  1. งานสืบสานประเพณี “วลัยลักษณ์ลอยกระทง เสริมส่งประเพณี สู่วิถีธรรมชาติ”
  2. สืบสานงานบุญประเพณีทอดกฐิน
  3. สืบสานประเพณีทำบุญให้ทานไฟ งดจัดกิจกรรมเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)
  4. ทำบุญทวดตุมปัง ประจำปี 2564
  5. สืบสานประเพณีงาน “วลัยลักษณ์สงกรานต์”

รายละเอียดเพิ่มเติม
– ผลการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปี 2564 
– ประมวลภาพกิจกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปี 256
– เตรียมพบกับการเรียนโนราในรูปแบบออนไลน์ 
– Delivery “วลัยลักษณ์สงกรานต์” ส่งความสุขชุมชนรายรอบ มวล.
– 3D ModelToompung 
วลัยลักษณ์ลอยกระทง 2564
วลัยลักษณ์สงกรานต์ 2564 
อาคารแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมภาคใต้ “อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์”
https://cultural.wu.ac.th/archives/22888 
https://cultural.wu.ac.th/archives/24620
https://cultural.wu.ac.th/archives/24636
https://www.youtube.com/watch?v=mkxmy5NXN_4

 

ปีงบประมาณ 2562

ปีงบประมาณ 2563

ปีงบประมาณ 2564