ทำบุญทวดตุมปัง

ณ โบราณสถานตุมปัง
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ทำบุญทวดตุมปัง 2564
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ จัดพิธีทำบุญทวดตุมปัง ประจำปี 2564 ณ โบราณสถานตุมปัง
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ จัดพิธีทำบุญทวดตุมปัง ประจำปี 2564 ณ โบราณสถานตุมปัง
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ จัดพิธีทำบุญทวดตุมปัง ประจำปี 2564 ณ โบราณสถานตุมปัง
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ จัดพิธีทำบุญทวดตุมปัง ประจำปี 2564 ณ โบราณสถานตุมปัง
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ จัดพิธีทำบุญทวดตุมปัง ประจำปี 2564 ณ โบราณสถานตุมปัง

โบราณสถานตุมปัง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดตุมปัง (ร้าง)

ตั้งอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ได้ขึ้นประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 118 ตอนพิเศษ 33ง เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2544 มีพื้นที่ 80 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา คำว่า “ตุมปัง” มีสำเนียงคล้ายกับภาษายาวีว่า “ตุมปัส” ซึ่งแปลว่า “ที่อยู่” โบราณสถานแห่งนี้ได้รับขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีเมื่อ พ.ศ. 2545 – 2546 พบอาคารโบราณสถานก่ออิฐ จำนวน 4 หลัง ล้อมรอบด้วยแนวกำแพงแก้ว มีซุ้มประตูทางเข้าอยู่ด้านทิศตะวันออก ถัดออกมามีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จำนวน 2 สระ ตั้งขนาบแนวทางเดินเข้าสู่โบราณสถาน

โบราณสถานตุมปัง

ชาวบ้านรายรอบมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความเชื่อว่าในบริเวณโบราณสถานตุมปังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกปักษ์รักษาแหล่งโบราณสถานแห่งนี้อยู่ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ทวดตุมปัง” โดยปรากฏให้เห็นเป็นงูบองหลาหรืองูจงอางเผือก ซึ่งมีเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาว่า ในสมัยก่อนหากใครมาขโมยสิ่งของจากโบราณสถานตุมปังจะไม่สามารถหาทางออกได้ หรือถ้าเอาของออกจากโบราณสถานตุมปังไป ก็ต้องเอามากลับคืนไว้ที่เดิม เพราะจะมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เดือนร้อนกายเดือนร้อนใจ และต้องตั้งจิตอธิษฐานขอขมาทวดตุมปังจึงจะพ้นเคราะห์ ปัจจุบันนี้มีผู้คนเข้าไปกราบสักการบูชาทวดในโบราณสถานตุมปังกันอย่างต่อเนื่องและมีการบวงสรวงด้วยสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้ทวดบันดาลให้สมปรารถนา เมื่อประสบความสำเร็จแล้วก็จะแก้บนดังกล่าว

อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ จัดพิธีทำบุญทวดตุมปัง ประจำปี 2563 ณ โบราณสถานตุมปัง

นอกจากนี้ในช่วงเดือนห้าของทุกปีจะมีการทำพิธี “เชื้อทวดตุมปัง” ซึ่งเป็นพิธีเซ่นสรวงบูชาทวดตุมปัง โดยจะมีชาวบ้านที่ได้รับการคัดเลือกเป็นร่างทรงทำพิธีกรรมและมีการเดินลุยกองไฟ แต่ที่น่าประหลาดใจคือ ผู้ที่เป็นร่างทรงนั้นไม่มีบาดแผลหรือได้รับบาดเจ็บจากการทำพิธีกรรมดังกล่าวแต่ประการใด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องทวดที่ปรากฏให้เห็นในชุมชนท่าศาลามาตั้งแต่ครั้งอดีตนั่นเอง

อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ จัดพิธีทำบุญทวดตุมปัง ประจำปี 2563 ณ โบราณสถานตุมปัง

อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในฐานะหน่วยงานรับผิดขอบภารกิจหลักด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย จึงกำหนดจัดกิจกรรมทำบุญทวดตุมปังขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนห้าของทุกปี (เดือนมีนาคม) เพื่อสืบทอดประเพณีความเชื่อในการบูชาโบราณสถานตุมปัง และเพื่อส่งเสริม ปลูกฝัง คุณค่าด้านคุณธรรมจริยธรรม และกระตุ้นให้นักศึกษาและบุคลากรได้เล็งเห็นถึงคุณค่าของแหล่งโบราณสถาน เรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช

อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ จัดพิธีทำบุญทวดตุมปัง ประจำปี 2563 ณ โบราณสถานตุมปัง

เนื่องด้วยมีความเชื่อที่ว่าพื้นที่โบราณสถานตุมปังแห่งนี้ ในอดีตเคยเป็นศาสนสถานของทั้งศาสนาพราหมณ์และพุทธมาก่อน กิจกรรมทำบุญทวดตุมปัง จึงประกอบด้วย พิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ (บวงสรวงและบูชาเทพยดา) และพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ (เจริญพระพุทธมนต์ ทำบุญแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศล ฯลฯ) ซึ่งบุคลากรส่วนใหญ่จะหิ้วปิ่นโตมาร่วมทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ และยังมีการทำบุญโรงทานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อร่วมเลี้ยงอาหารคาวหวานแก่ผู้เข้าร่วมทุกท่าน และกิจกรรมสุดท้ายจะเป็นกิจกรรมจิตอาสาที่ให้นักศึกษาและบุคลากรได้ร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่โบราณสถานตุมปัง พร้อมทั้งเป็นการสร้างจิตสำนึกรักษ์โบราณสถานอีกด้วย

อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ จัดพิธีทำบุญทวดตุมปัง ประจำปี 2564 ณ โบราณสถานตุมปัง

รายการของบวงสรวง
1.
บายศรีเทพ 1 คู่
2. บายศรีปากชาม 1 คู่
3. ขนมมงคล 9 อย่าง
4. ข้าวสุก 1 ถ้วย
5. ผลไม้ 9 อย่าง
6. อ้อย กล้วย เผือก มัน อย่างละ 1 ถ้วย
7. ธัญพืช ถั่วเขียว ดำ แดง เหลือง งาขาว งาดำ 1 ถ้วย
8. น้ำ 5 สี
9. น้ำเปล่า 1 ถ้วย
10. แจกันดอกไม้ 1 คู่
11. หมากกพลู บุหรี่
12. พวงมาลัยดาวเรือง 2 พวง
13. ข้าวตอก ดอกไม้ ฯลฯ

Facebook Comments Box