ประเพณีทอดกฐิน

ประเพณี (อังกฤษ: tradition) เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่าง ๆ กลายเป็นประเพณีประจำชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลำดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเทศะ

อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ณ วัดเสนาราม
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ณ วัดเสนาราม

กฐิน (บาลี: กฐิน) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐินหรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด ดังนั้นกฐินจึงจัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังฆกรรมของพระสงฆ์โดยจำเพาะ ซึ่งนอกจากในพระวินัยฝ่ายเถรวาทแล้ว กฐินยังมีในฝ่ายมหายานบางนิกายอีกด้วย แต่จะมีข้อกำหนดแตกต่างจากพระวินัยเถรวาท

อปโลกน์กฐิน หมายถึง การที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเสนอชึ้นในที่ประชุมสงฆ์ถามความเห็นชอบว่าควรมีการกรานกฐินหรือไม่ เมื่อเห็นชอบร่วมกันแล้วจึงหารือกันต่อไปว่าผ้าที่ทำสำเร็จแล้วควรถวายแก่ภิกษุรูปใด การปรึกษาหารือการเสนอความเห็นเช่นนี้เรียกว่า อปโลกน์ (อ่านว่าอะ-ปะ-โหลก) เมื่ออปโลกน์เสร็จแล้วจึงต้องสวดประกาศเป็นการสงฆ์จึงนับเป็นสังฆกรรม

ทอดกฐินวัดเสนาราม
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ณ วัดเสนาราม

พิธีกรานกฐิน กรานกฐินเป็นพิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะ คือภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนั้นนำผ้ากฐินไปทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งเย็บ ย้อมแห้ง เรียบร้อยดีแล้ว เคาะระฆัง ประชุมกันในโรงพระอุโบสถ ภิกษุผู้รับผ้ากฐิน ถอนผ้าเก่าอธิษฐานผ้าใหม่ที่ตนได้รับนั้นเข้าชุดเป็นไตรจีวร เสร็จแล้วภิกษุรูปหนึ่งขึ้นสู่ธรรมาสน์แสดงพระธรรมเทศนากล่าวถึงเรื่องประวัติกฐิน

อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ณ วัดเสนาราม
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ณ วัดเสนาราม

ประเพณีการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน

การได้มาของผ้าไตรจีวรอันจะนำมากรานกฐินตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้ พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามการรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานพิธีการถวายผ้ากฐิน หรือการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้น และการถวายผ้ากฐินนั้นจัดเป็นสังฆทาน คือ ถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอปโลกน์ ยกให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ลงมติ (ญัตติทุติยกรรมวาจา) และกาลทานที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอน คณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ สามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี มีกำหนดระยะเวลาถวายเพียง 1 เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือ ระยะเวลาทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน ซึ่งเป็นทานที่ถวายได้ภายในเวลาที่มีพระพุทธานุญาตกำหนด จึงมีอานิสงส์เป็นพิเศษในการทอดกฐิน ทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นบุญประเพณีนิยมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป

อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ณ วัดเสนาราม

อานิสงส์ของการทำบุญทอดกฐิน 

  1. ทำให้เป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์สินมาก และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้โดยง่าย
  2. ทำให้เป็นผู้มีจิตใจแช่มชื่น บริสุทธิ์และผ่องใสอยู่เสมอ
  3. ทำให้เป็นผู้มีจิตใจตั้งมั่น เป็นสมาธิและเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย
  4. ได้ชื่อว่าเป็นผู้สามารถใช้ทรัพย์สมบัติให้เกิดเป็นบุญกุศลติดตัวไปในภพเบื้องหน้าได้อย่างเต็มที่
  5. ทำให้เป็นคนรูปงาม ผิวพรรณงาม เป็นที่รักของคนทั่วไป
  6. ทำให้เป็นผู้มีชื่อเสียง เกียรติคุณ น่ายกย่องสรรเสริญ เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาน่าเคารพนับถือ

ทั้งนี้ยังเป็นการสงเคราะห์พระภิกษุที่จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสให้ได้รับอานิสงส์ตามพุทธบัญญัติ เป็นการเทิดทูนพระพุทธบัญญัติเรื่องกฐินให้คงอยู่สืบไป นับได้ว่าบูชาพระพุทธศาสนาด้วยการปฏิบัติบูชาส่วนหนึ่ง และเป็นการสืบต่อประเพณีกฐินทาน มิให้เสื่อมสลายไปจากวัฒนธรรมประเพณีของคนไทย อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างพลังสามัคคีขึ้นในสังคมอีกทางหนึ่งด้วย

อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ณ วัดเสนาราม
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ณ วัดเสนาราม
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพทอดกฐิน ณ วัดเสนาราม

การถวายผ้ากฐิน
เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว ประธานองค์ผ้ากฐิน/เจ้าภาพอุ้มผ้ากฐิน นั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบ

คำกล่าวถวายผ้ากฐิน
อิมัง มะยัง ภันเต / สะปะริวารัง / กะฐินะ จีวะระทุสสัง / สังฆัสสะ / โอโณชะยามะ / สาธุ โน ภันเต/ สังโฆ/
อิมัง /สะปะริวารัง /กะฐินะจีวะระทุสสัง / ปะฏิคคันหาตุ / ปะฏิคคะ เหตตะวา จะ /อิมินา ทุสเสนะ /
กะฐินัง/ อัตถะรัตตุ/ อัมหากัง / ทีฆะรัตตัง  / หิตายะ / สุขายะ  / นิพพานายะจะ ฯ

คำกล่าวถวายผ้ากฐิน (ไทย)
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ / ข้าพเจ้าทั้งหลาย / ขอน้อมถวาย /  ผ้าจีวรกฐิน / พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้ / แด่พระภิกษุสงฆ์ / ขอพระภิกษุสงฆ์ / จงรับ / ผ้าจีวรกฐิน / พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายเหล่านี้ / ครั้นรับแล้ว /จงกรานกฐิน / ด้วยผ้าผืนนี้ /เพื่อประโยชน์ / เพื่อความสุข / เพื่อมรรคผลนิพพาน / แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย /ตลอดกาลนาน เทอญฯ