อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ จับมือหลักสูตรเทคโนโลยีมัลติมีเดีย แอนิเมชัน และเกม สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ จัดทำข้อมูลโบราณวัตถุที่ขุดพบในแหล่งโบราณสถานตุมปังด้วยวิธี 3D Laser Scanner
วันที่ 14 มิถุนายน 2564 อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ร่วมกับหลักสูตรเทคโนโลยีมัลติมีเดีย แอนิเมชัน และเกม สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลโบราณวัตถุที่ขุดพบในแหล่งโบราณสถานตุมปังด้วยวิธี 3D Laser Scanner ณ สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช
โครงการ จัดทำข้อมูลโบราณวัตถุที่ขุดพบในแหล่งโบราณสถานตุมปังด้วยวิธี 3D Laser Scanner เป็นหนึ่งในโครงการที่อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ได้รับการสนับสนุนจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลโบราณวัตถุที่ขุดพบในแหล่งโบราณสถานตุมปัง และนำไปผลิตสื่อมัลติมีเดีย ประกอบการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ทั้งนี้โบราณสถานตุมปังถือได้ว่าเป็นโบราณสถานที่สำคัญ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ภายหลังการขุดค้นขุดแต่งทางโบราณคดีเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๕ โบราณวัตถุที่ขุดพบได้นำไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินครศรีธรรมราช ได้แก่ รูปเคารพสลักจากหินทราย ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และโบราณวัตถุบางส่วนได้เก็บรักษาไว้ที่สำนักศิลปากรที่ ๑๒ นครศรีธรรมราช ได้แก่ ชาม เครื่องถ้วย ภาชนะดินเผา ฯลฯ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
โทรศัพท์ 0-7567-2508 -10 โทรสาร 0-7567-2507 E-mail: [email protected]
Facebook Comments Box