
ตามที่อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ได้จัดให้มีโครงการสื่อสร้างสรรค์ปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์มรดก ภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น หัวข้อ “ตามรอยโบราณสถานเมืองนคร”โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรท้องถิ่นโดยมีการเชื่อมโยงกับมิติด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ศิลปะและวัฒนธรรมควบคู่กันไปด้วย อันจะส่งผลสู่การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรของประเทศแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป เกิดการต่อยอดในการกระตุ้นให้สถานศึกษาและภาคส่วนต่างๆ เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมและปลูกฝังให้เยาวชนเข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ของทรัพยากรชีวภาพ กายภาพ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม เพื่อให้รู้จักหวงแหน รู้จักการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งมีความสำคัญต่อการจัดการ และการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างรู้คุณค่า และได้ประกาศเชิญชวนเยาวชนให้ส่งข้อเสนอโครงการเพื่อรับทุนสนับสนุนการผลิตสื่อสร้างสรรค์ปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นหัวข้อ “ตามรอยโบราณสถานเมืองนคร” รวมจำวน ๑๕ ทุน ทุนละ ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ซึ่งจากการพิจารณาข้อเสนอโครงการดังกล่าวปรากฏมีผู้ผ่านการคัดเลือกเพื่อรับทุนสนับสนุน ดังนี้
๑. กลุ่ม “ลมหัวษา” สังกัดศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมทางนครศรีธรรมราช แหล่งโบราณสถานเมืองโบราณพระเวียง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
– นายอัครพล จันทร์คง
– นางสาวเนตรนภา ประทุมรัตน์
– นายนพรัตน์ หัสจำนงค์
– นางสาวสุภาภรณ์ บุญชูศรี
อาจารย์ที่ปรึกษา
๑. นายวันพระ สืบสกุลจินดา
๒. นายสราวุฒ หนูคง
๓. นางสาวจุฬาลักษณ์ ส่งมา
๒. กลุ่ม “หวันเป็นสูรย์” สังกัดศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมทางนครศรีธรรมราช แหล่งโบราณสถานโบราณคดีบ้านเกียกกาย (เกตุกาย) อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
– นางสาวสิริยากร จันทรศร
– นายสุรศักดิ์ สุขใหม่
– นางสาวปรัชญาพร สุวรรณรัตน์
อาจารย์ที่ปรึกษา
๑. นายวันพระ สืบสกุลจินดา
๒. นายสราวุฒ หนูคง
๓. นางสาวจุฬาลักษณ์ ส่งมา
๓.กลุ่ม “ขี้หมิ้นขี้เบือ” สังกัดศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมทางนครศรีธรรมราช แหล่งโบราณสถานวัดมเหยงค์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
– นางสาวศุภิสรา เจยุภักดิ์
– นางสาวอริศรา สารพงษ์
– นางสาวพิชชาพร หัสดี
อาจารย์ที่ปรึกษา
๑. นายวันพระ สืบสกุลจินดา
๒. นายสราวุฒ หนูคง
๓. นางสาวจุฬาลักษณ์ ส่งมา
๔. กลุ่ม“ลมพัดชายเขา” สังกัดศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมทางนครศรีธรรมราช แหล่งโบราณสถานตุมปัง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
– นางสาวเจนจิรา สร้อยสุวรรณ
– นางสาวกฤติพร อบเชย
– นางสาวสาริณี คชพันธ์
อาจารย์ที่ปรึกษา
๑. นายวันพระ สืบสกุลจินดา
๒. นายสราวุฒ หนูคง
๓. นางสาวจุฬาลักษณ์ ส่งมา
๔.นายปิยะพัฒน์ รักษ์บางบูรณ์
๕. กลุ่ม “ทรายท้องคลอง” สังกัดศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมทางนครศรีธรรมราช แหล่งโบราณสถานวัดโมคลาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
– นายคุณากร ประมุข
– นายอติวัฒน์ ทรงศรีวิไล
– เด็กชายสกนธ์ สุวรรณคช
อาจารย์ที่ปรึกษา
๑. นายวันพระ สืบสกุลจินดา
๒. นายสราวุฒ หนูคง
๓. นางสาวจุฬาลักษณ์ ส่งมา
๖. กลุ่ม “น้ำซึมน้ำซับ” สังกัดศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมทางนครศรีธรรมราช แหล่งโบราณสถานวัดท่าพระยา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
– นางสาวสุภาวดี ขำเกิด
– นายสายชล โอษฐ์ฤทธิ์
– นายพัชรพล ขุนเพ็ชร
อาจารย์ที่ปรึกษา
๑. นายวันพระ สืบสกุลจินดา
๒. นายสราวุฒ หนูคง
๓. นางสาวจุฬาลักษณ์ ส่งมา
๗. กลุ่ม กลุ่ม “หวันข่มตา” สังกัดศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมทางนครศรีธรรมราช แหล่งโบราณสถานวัดเขาแก้ววิเชียร อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
– นายศุภวัช แสงแพร้ว
– นายนิกร โรจนวัฒน์
– นายปุญณวัฒน์ คีรี
อาจารย์ที่ปรึกษา
๑. นายวันพระ สืบสกุลจินดา
๒. นายสราวุฒ หนูคง
๓. นางสาวจุฬาลักษณ์ ส่งมา
๔. นายปิยะพัฒน์ รักษ์บางบูรณ์
๘. กลุ่ม “อีสาระพา” สังกัดศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมทางนครศรีธรรมราช แหล่งโบราณสถานวัดภูเขาหลัก อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
– นายธนภัทร คงสิน
– นายวรากร สุขแสง
– นางสาวณัฏฐณิชา ทองสัมฤทธิ์
อาจารย์ที่ปรึกษา
๑. นายวันพระ สืบสกุลจินดา
๒. นายสราวุฒ หนูคง
๓. นางสาวจุฬาลักษณ์ ส่งมา
๙. กลุ่ม “นกชุมรัง” สังกัดศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมทางนครศรีธรรมราช แหล่งโบราณสถานวัดเขาพระทอง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
– นายวชิรพล บูลบริบาล
– นายวุฒิชัย คงกุล
– นางสาวปิยะธิดา ชูเสือหึง
– นายรณชัย ดีถนอม
อาจารย์ที่ปรึกษา
๑. นายวันพระ สืบสกุลจินดา
๒. นายสราวุฒ หนูคง
๓. นางสาวจุฬาลักษณ์ ส่งมา
๑๐. กลุ่ม “FBG Want” สังกัดโรงเรียนฉวางรัชดาภิเษก แหล่งโบราณสถานวัดโบราณาราม (วัดเก่า) อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
– นายณัฐพงค์ วราชี
– นายกล้าณรงค์ พลมานพ
– นายปฏิพัทธ์ เเกล้วกล้า
อาจารย์ที่ปรึกษา
-ไม่ระบุ-
๑๑. กลุ่ม “เดือนเป็นจันทร์” สังกัดศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมทางนครศรีธรรมราช แหล่งโบราณสถานวัดถ้ำทองพรรณรา อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช
– นางสาวนวลหงส์ ชูโลก
– นายวุฒิภัทร บุญเพ็ชร์
– นางสาวศิริรัตน์ อักษรเงิน
อาจารย์ที่ปรึกษา
๑. นายวันพระ สืบสกุลจินดา
๒. นายสราวุฒ หนูคง
๓. นางสาวจุฬาลักษณ์ ส่งมา
๑๒. กลุ่ม “ตามรอยพระเจ้าตากวัดเขาขุนพนม” สังกัดโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช แหล่งโบราณสถานวัดเขาขุนพนม อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
– นางสาวเขมจิรา จันทร์ทิน
– นางสาวอสยาภรณ์ นิจนาช
– นางสาวจิราพร ศรีพิบูรย์
อาจารย์ที่ปรึกษา
-ไม่ระบุ-
๑๓. กลุ่ม “เด็กวัดปะ” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราข แหล่งโบราณสถาน วัดปะ (ธรรมาราม) อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
– นายชนธัญ จันทร์ทิน
– นายศุภณัฐ สายวารี
– นายภณภูมิ บุญวงศ์
อาจารย์ที่ปรึกษา
– ไม่ระบุ-
๑๔. กลุ่ม “ผักข้าวหอยเลียง” สังกัดศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมทางนครศรีธรรมราช แหล่งโบราณสถานเขาคา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
– นายพิทวัฒน์ สีหามาตย์
– นายธีรภัทร นิชานนท์
– นางสาววรางรัตน์ บัวจูม
อาจารย์ที่ปรึกษา
๑. นายวันพระ สืบสกุลจินดา
๒. นายสราวุฒ หนูคง
๓. นางสาวจุฬาลักษณ์ ส่งมา
๔. นายปิยะพัฒน์ รักษ์บางบูรณ์
๑๕. กลุ่ม “จันทร์สามสร้อย” สังกัดศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมทางนครศรีธรรมราช แหล่งโบราณสถานเจดีย์เขาธาตุ (เจดีย์ปะการัง) อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
– นางสาวลักษณ์ชนก จุ้ยส่องแก้ว
– นางสาวรติมา สุขถนอม
– นางสาวธิดารัตน์ คงสำคัญ
อาจารย์ที่ปรึกษา
๑. นายวันพระ สืบสกุลจินดา
๒. นายสราวุฒ หนูคง
๓. นางสาวจุฬาลักษณ์ ส่งมา
๔.นายปิยะพัฒน์ รักษ์บางบูรณ์
ผู้ผ่านการคัดเลือกจะต้องร่วมประชุมลงนามรับทุนสนับสนุนโครงการสื่อสร้างสรรค์ ปลูกจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น หัวข้อ “ตามรอยโบราณสถาน เมืองนคร” ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องประชุมตุมปัง ชั้น ๓ อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และผู้ได้รับคัดเลือกรับทุนสนับสนุนโครงงานจะต้องดำเนินงานลงพื้นที่สำรวจศึกษาและเก็บข้อมูลภาคสนามในแหล่งโบราณสถานที่ได้กำหนด โดยจะส่งส่งผลงานแก่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดังนี้
๑) ผู้ได้รับทุนจะต้องจัดทำรายงานการศึกษาข้อมูลประวัติและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับแหล่งโบราณสถานที่ได้คัดเลือกและเสนอโครงงานขอรับทุนสนับสนุน จำนวน ๑ แห่ง เนื้อหาความยาวไม่เกิน ๓ หน้ากระดาษ A๔ พร้อมแนบไฟล์ภาพถ่ายที่มีความคมชัดเกี่ยวกับแหล่งโบราณสถานไม่น้อยกว่า ๒๐ ภาพ
๒) ผู้ได้รับทุนจะต้องจัดทำคลิปวิดีโอ “ตามรอยโบราณสถานเมืองนคร” ความยาวไม่เกิน ๑๐ นาที ต้องมีเนื้อหาที่แสดงให้เห็นถึงสาระที่เป็นประโยชน์ มุ่งสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นสื่อที่ช่วยในการเรียนรู้ในแง่มุมประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และมีข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งโบราณสถานที่คัดเลือกนำเสนอในโครงงาน โดยนำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอ ความยาวไม่เกินสิบนาที โดยผลงานที่ส่ง เข้าประกวด รูปภาพ ข้อความ เสียง วิดีทัศน์ คลิปวิดีโอ และส่วนอื่น ๆ ของผลงานต้องเป็นผลงานที่ผู้สมัครรับทุนสร้างสรรค์ด้วยตนเอง มิได้ทำซ้ำ คัดลอก เลียนแบบ หรือดัดแปลงของผู้อื่น อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากมีบางส่วนนำมาประกอบ ต้องอ้างอิงตามหลักทางวิชาการ ทั้งนี้ คณะกรรมการขอสงวนสิทธิ์ในการนำผลงานที่ส่งเข้าประกวดมาเผยแพร่ผ่านสื่อสาธารณะของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
โดยกำหนดให้ผู้รับทุนสนับสนุนจะต้องส่งรายงานและคลิปวิดีโอดังกล่าวไปยัง อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ๘๐๑๖๐ หรือ E-mail address : [email protected] ภายในวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ นี้