ด้วยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนโบราณ ดังที่พบหลักฐานแหล่งโบราณคดีตุมปัง และการค้นพบร่องรอยโบราณสถานที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาในบริเวณมหาวิทยาลัย ทั้งร่องรอยเจดีย์ในบริเวณบ้านพักบุคลากร ที่วัดจันออก วัดจันตก ตลอดจนวัดแสงแรงคือร่องรอยและหลักฐานแห่งความรุ่งเรืองของพุทธศาสนา   แม้ส่วนใหญ่จะถูกทิ้งร้างไปนานแล้ว แต่ล้วนคือหลักฐานทางโบราณคดีที่สะท้อนอดีตความเป็นศูนย์กลางทางจิตใจและการใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมของคนในชุมชนละแวกนั้นที่ได้ก่อตัวมาตั้งแต่สมัยโบราณ  ซึ่งร่องรอยความเก่าแก่ดังกล่าวล้วนมีเสน่ห์อย่างยิ่ง และเป็นประโยชน์ด้านการศึกษาทางประวัติศาสตร์โบราณคดี และอาจรวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมด้วย    มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงมีแผนพัฒนาโบราณสถานต่าง ๆ ดังกล่าวขึ้นเป็น “อุทยานโบราณคดี”   ซึ่งจะต้องประสานความร่วมมือกันหลายฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักศิลปากรที่ 1๒ นครศรีธรรมราช กรมศิลปากร และนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีในการร่วมกันศึกษาและพัฒนาให้เกิดแหล่งเรียนรู้ และกระบวนการศึกษาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีในเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยให้ปรากฎสู่สังคมวงกว้าง จึงกำหนดจัดสัมมนาวิชาการระดับชาติ “ติดตามตามพรลิงค์ ค้นความจริงโบราณสถานตุมปัง” ขึ้น  ในวันที่ ๒ – ๓ สิงหาคม ๒๕๖๑ ณ ห้องประชุม ๒๐๓ อาคารวิทยาศาสตร์การกีฬา ศูนย์กีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เพื่อให้เกิดการสร้างฐานความรู้ทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับโบราณสถานตุมปังที่ชัดเจนยิ่งขึ้น 

ดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการ

 

 

กำหนดการสัมมนาวิชาการระดับชาติ
“ติดตามตามพรลิงค์ ค้นความจริงโบราณสถานตุมปัง”
วันที่ 2 – 3 สิงหาคม 2561
ณ ห้องประชุม ๒๐๓ อาคารวิทยาศาสตร์การกีฬา ศูนย์กีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

วันที่ 2 สิงหาคม 2561  
เวลา 08.30  – 09.00 น. ลงทะเบียน/ รับเอกสารประกอบการสัมมนาฯ
เวลา 09.00 – 09.30 น.  พิธีเปิดการสัมมนาวิชาการ
  รศ.ดร.ศราวุธ  ปาลิโภชน์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา กล่าวเปิด
  รศ.ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ รักษาการแทนผู้อำนวยการอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ กล่าวรายงาน
เวลา 09.30 – 12.00 น. การเสวนาเรื่อง “ตามรอยอารยธรรมแดนใต้ : ตามพรลิงค์  ลังกาสุกะ ศรีวิชัยและศรีธรรมราชมหานคร (เมือง 12 นักษัตร)”
  โดย…    คุณธราพงษ์  ศรีสุชาติ อดีต ผอ.กองโบราณคดี กรมศิลปากร
  ดร.อมรา  ศรีสุชาติ  นักโบราณคดี
  คุณนงค์คราญ สุขสม ผอ.กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๖ สุโขทัย
  หมอภูมิไท  ดีเป็นแก้ว  นักวิชาการอิสระ
  ดำเนินการเสวนาโดย  รศ.ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ รักษาการแทนผู้อำนวยการอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์
เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 – 15.45 น. การเสวนาเรื่อง “พระพุทธศาสนากับการศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดีจังหวัดนครศรีธรรมราช”
  โดย…     ผศ.ฉัตรชัย  ศุกระกาญจน์ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
  นายแพทย์บัญชา  พงษ์พานิช นักวิชาการอิสระ
  คุณเขมชาติ  เทพไชย อดีต ผอ.สำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
  ดำเนินการเสวนาโดย.. ดร.บรรจง  ทองสร้าง ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนา ม.ราชภัฏสงขลา
เวลา 15.45 – 16.30 น. อภิปราย/ตอบข้อซักถาม

 

วันที่ 3 สิงหาคม 2561  
เวลา 08.30 – 09.00 น.  ลงทะเบียน/ รับเอกสารประกอบการสัมมนาฯ
เวลา 09.00 – 09.45 น. ปาฐกถาเรื่อง “ภาคใต้กับพัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
  โดย… นายสด  แดงเอียด อดีตอธิบดีกรมศาสนา
เวลา 09.45 – 12.00 น. การเสวนาเรื่อง “มองโบราณสถานตุมปังในมิติประวัติศาสตร์และโบราณคดี”
  โดย…     นายอาณัติ  บำรุงวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช
  นายพงศ์ธันว์  สำเภาเงิน  นักโบราณคดี (ขุดค้นขุดแต่งโบราณสถานตุมปัง)
  ผศ.ดร.กฤษณ์  วันอินทร์  ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ ม.เกษตรศาสตร์
  ดำเนินรายการโดย…โดย  คุณพรชัย  โชติวรรณ นักจัดรายการวิทยุและวิทยุโทรทัศน์
เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 – 15.00 น.  นำเสนอผลงานวิชาการ/งานศึกษาวิจัยด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี โดย…นักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษา
  โครงการวิจัย “อนุรักษ์โครงสร้างโบราณสถานตามหลักวิศวกรรม”  โดย…รศ.ดร.นคร ภู่วโรดม และคณะ
  หัวข้อ “การศึกษาพันธุ์ไม้ในเขตพื้นที่โบราณสถานตุมปัง”  โดย… ผศ.ดร.ฉัตรชัย กัลยาณปภณ และคณะ
  หัวข้อ “การศึกษาและขุดค้นทางโบราณคดีในเขตพื้นที่วัดมเหยงค์”  โดย… Dr. Peter Skilling นักวิจัยต่างชาติ
เวลา 15.00 – 16.00 น. สรุปการสัมมนาวิชาการระดับชาติ “ภาคใต้กับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และโบราณคดี” 
  โดย… ผศ.ฉัตรชัย  ศุกระกาญจน์
เวลา 16.00 – 16.30 น. มอบเกียรติบัตรแก่วิทยากร และผู้นำเสนอผลงานวิชาการ/ ผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ  และกล่าวปิดการสัมมนาฯ
  โดย… รศ.ดร.ศราวุธ  ปาลิโภชน์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
   

พิธีกร : นางสาววิลาวัณย์  วิชัยดิษฐ และนางเจนจิรา พุมดวง

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
๒๒๒ ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ๘๐๑๖๐
โทร (๐๗๕)๖๗๒๕๐๘-๑๐ โทรสาร (๐๗๕)๖๗๒๕๐๗
E-mail: cultural.wu@gmail.com 

Facebook Comments Box