อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์

Walailak Abode of Culture

อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต
เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอดด้านศิลปะและวัฒนธรรม

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดำเนินภารกิจการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงสืบทอด กระตุ้นให้เยาวชนตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญเกี่ยวกับมรดกทางด้านภูมิปัญญา ประเพณีและวัฒนธรรมของไทย เพื่อพัฒนาทักษะและยกระดับมาตรฐานผลงานของนักเรียน นักศึกษา ก่อให้เกิดเวทีวิชาการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม เผยแพร่และบริการด้านศิลปะและวัฒนธรรมในระดับชาติและนานาชาติ

ปีงบประมาณ 2564 อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักดูแลภารกิจทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ได้รับงบประมาณดำเนินงาน รวมเป็นจำนวนเงิน 1,202,860 บาท โดยแบ่งเป็น

  • งบประมาณ ประจำปี 2564 จำนวนเงิน 328,000 บาท
  • งบประมาณกลางมหาวิทยาลัย จำนวนเงิน 370,000 บาท
  • งบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จำนวนเงิน 260,000 บาท
  • งบประมาณสนับสนุนจากโครงการ อพ.สธ. จำนวนเงิน 244,860 บาท

Data Collected

จำนวน (บาท)

University expenditure

1,442,880,680

University expenditure on arts and heritage

698,000

โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานว่า “ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ” ประกอบด้วยแนวทางดำเนินงาน ดังนี้

1. จัดตั้งอาคารแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมภาคใต้ “อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์”

เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรมภาคใต้ ผ่านการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย ห้องนิทรรศการด้านศิลปะและวัฒนธรรม ตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

2. ขับเคลื่อนงานวิจัยด้านศิลปะและวัฒนธรรมบูรณาการร่วมกับสำนักวิชาและภาคีภายนอก

โดยได้ดำเนินการศึกษาโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของแหล่งโบราณสถานตุมปังร่วมกับทีมวิจัยมหาวิทยาศิลปากร เพื่อนำผลการวิจัยมาพัฒนาเป็นสื่อการเรียนรู้และโมเดลจำลองของโบราณสถานตุมปัง และโครงการวิจัยและพัฒนาคลังสารสนเทศดิจิทัลด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี ศิลปะและวัฒนธรรม และภูมิปัญญาในเขตพื้นที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และเชื่อมโยงความสำคัญทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น

3. ยกระดับโบราณสถานตุมปังสู่โบราณสถานที่มีชีวิตผ่านการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

โดยผ่านโครงการเทคโนโลยีโลกความเป็นจริงเสมือน Augmented reality Toompung (AR Toompung) และ Virtual reality Toompung (VR Toompung) และโครงการจัดทำข้อมูลโบราณวัตถุที่ขุดพบในแหล่งโบราณสถานตุมปังด้วยวิธี 3D Laser Scanner เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงและเรียนรู้แหล่งโบราณสถานได้เพิ่มขึ้น

**โบราณสถานตุมปัง**

4. การจัดทำหลักสูตรศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบออนไลน์

โดยมีเป้าหมายในการเผยแพร่หลักสูตรออนไลน์อย่างน้อย 1 หลักสูตร ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรและประชาชนทั่วไป เพื่อเพิ่มช่องทางในการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนด้านศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งจากการดำเนินที่ผ่านมาอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ได้จัดทำหลักสูตรศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแบบออนไลน์ด้วยกัน จำนวน 4 หลักสูตร คือ

5. ยกระดับสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์สู่ TCI กลุ่ม 1

เพื่อยกระดับคุณภาพมาตราฐานสารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ให้เป็นไปตามมาตรฐานของเกณฑ์คุณภาพวารสารวิชาการ

6. มุ่งเป้าการจัดกิจกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรม “เบญจประเพณี ที่ห้ามพลาด”

ประกอบด้วย ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอบกระทง ประเพณีทอดกฐิน ประเพณีให้ทานไฟ และกิจกรรมทำบุญทวดตุมปัง เพื่ออนุรักษ์และสืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่มีมาช้านานให้ดำรงอยู่คู่สังคมไทยสืบไป

ทั้งนี้ยังมีโครงการ/กิจกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรม ที่ได้ดำเนินการเป็นประจำต่อเนื่องทุกปี อาทิ โครงการสืบสานประเพณีบุญสารทเดือนสิบจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการจิตอาสาพัฒนาศาสนสถาน โครงการฝึกอบรมยุวมัคกุเทศก์ 3 ภาษา (อังกฤษ ไทย และจีน) โครงการฝึกอบรมศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ และมีโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางสำนักวิชาต่าง ๆ ได้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมด้านศิลปะและวัฒนธรรม อาทิ พิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานอุทิศถวายสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กิจกรรมไหว้ครู กิจกรรมละครเวทีของสำนักวิชา กิจกรรมมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ และโครงการเรียนรู้วัฒนธรรมข้ามชาติ ฯลฯ

Facebook Comments Box