มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน”

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ จัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน” อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการสังคมครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ตอนบน (งานทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม) ส่งเสริมและสนับสนุนด้านศิลปะและวัฒนธรรม และพัฒนาสุนทรียภาพในมิติด้านศิลปะและวัฒนธรรม ตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาความเป็นเลิศทางการวิจัย บริการวิชาการ และการทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ ตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน” ได้จัดขึ้นมาภายใต้วัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างพื้นที่บูรณาการทางวัฒนธรรมของประเทศในประชาคมอาเซียน ซึ่งจะช่วยทำให้วัฒนธรรมเป็นพลังผลักดันการก้าวไปข้างหน้าของประชาคมอาเซียนได้อย่างเข้มแข็ง 2) เพื่อสร้างเวทีประชุมสัมมนาที่นักวิชาการ ศิลปิน และผู้สนใจในกลุ่มประเทศอาเซียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างความรู้ทางวัฒนธรรมร่วมกัน 3) เพื่อสร้างความรู้ใหม่ ๆ ด้านการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียน และแนวทางที่จะพัฒนาวัฒนธรรมให้สอดคล้องและเป็นพลังของการเปลี่ยนแปลง 4) เพื่อสร้างฐานข้อมูลทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียนที่อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์กำลังดำเนินการ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในงานบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยในอนาคต โดยมีลักษณะกิจกรรมประกอบด้วย การปาฐกถาพิเศษ การเสวนาวิชาการนานาชาติ กิจกรรมการแสดงสาธิตและนิทรรศการด้านศิลปะและวัฒนธรรม ฯลฯ (SDG 11 Sustainable Cities and Communities)  จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2559 ภายใต้ชื่อโครงการ สัมมนาวิชาการนานาชาติ “สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน” ครั้งที่ 1 “นาฏยคีตาอาเซียน : การเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และพลังสร้างสรรค์” โดยอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ร่วมกับศูนย์ศึกษาภาษา วัฒนธรรม และสังคมอาเซียน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ และส่วนวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดำเนินงานภายใต้แนวคิดที่ว่า มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานและสถาบันทางสังคมที่มีหน้าที่สำคัญที่จะต้องสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประเทศและประชาคมในทุกมิติ โดยมหาวิทยาลัยจะต้องการปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อให้สามารถทำหน้าที่สำคัญดังกล่าวได้ อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์จึงมีหน้าที่สำคัญประการหนึ่งคือการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันในมิติทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อส่งเสริมให้ประเทศต่าง ๆ ยังคงเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมตนเอง พร้อมร่วมสร้างอัตลักษณ์ให้แก่ผู้คนในประเทศ ในขณะเดียวกันก็สามารถปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมให้เกิดมิติใหม่ ๆ ที่จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดความเข้มแข็งของประชาคม  อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์จึงจัดโครงการนี้ขึ้นมา โดยหวังว่าจะทำให้ประเทศไทยสามารถแสดงบทบาททางวิชาการที่จะก่อให้เกิดการบูรณาการทางวัฒนธรรมของกลุ่มประเทศอาเซียนที่จะมีส่วนสำคัญต่อเป้าหมายการสร้างประชาคมอาเซียน โดยจะจัดสัมมนาในมิติทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศในประชาคมอาเซียนเป็นระยะ ซึ่ง ในการประชุมวิชาการครั้งนี้มีนักวิชาการพร้อมชุดการแสดงจาก 5 ประเทศเข้าร่วม ได้แก่ ประเทศเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559 ณ หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์จัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์จัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์จัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์จัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์จัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน

และเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ได้จัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน” ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2560 The 2nd National and International Conference 2017 Weaving ASEAN Cultural Connection ภายใต้แนวคิด อาหารอาเซียน : ภูมิปัญญา และการเชื่อมโยงในวิถีวัฒนธรรม Foods In ASEAN : Wisdom and Cultural Connectivity ณ อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ภายในงานมีกิจกรรมประกอบด้วย การปาฐกถาพิเศษ “อาหาร ความหลากหลายภูมิปัญญาในอาเซียน”, การจัดเสวนาประเด็น “อาหารอาเซียน”, การนำเสนอผลงานวิชาการในรูปแบบบรรยาย (Oral Presentations) “อาหารอาเซียน”, การจัดแสดงนิทรรศการ วัฒนธรรม “อาหารอาเซียน” และการสาธิตการทำอาหารประจำถิ่น ในกลุ่มประเทศอาเซียน7 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เมียนมาร์ อินโดนีเซีย และประเทศไทย มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดเวทีวิชาการระดับนานาชาติในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ และความสัมพันธ์อันดีในกลุ่มประเทศอาเซียนมากยิ่งขึ้น

ประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน” ครั้งที่ 3 “ศิลปหัตถกรรมอาเซียน” The 3rd National and International Conference on Weaving ASEAN Cultural Connection “ASEAN Art and Craft” สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในระดับอาเซียน พัฒนาต่อยอดงานวิจัยไปสู่สาธารณะ เมื่อวันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา ณ อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย ปาฐกถาพิเศษ “ศิลปหัตถกรรมอาเซียน” การเสวนาประเด็น “ศิลปหัตถกรรมอาเซียน” การนำเสนอผลงานวิชาการในรูปแบบบรรยาย (Oral Presentations) “ศิลปหัตถกรรมอาเซียน” การจัดแสดงนิทรรศการศิลปหัตถกรรมอาเซียน และการสาธิตศิลปหัตถกรรมประจำถิ่น ในกลุ่มประเทศอาเซียน รวม 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย และในการประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ศาสตราจารย์ชวน เพชรแก้ว และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์ ร่วมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการ และการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับนักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาจากกลุ่มประเทศอาเซียนที่สนใจเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยและวิชาการ

ประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “สานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน” ครั้งที่ 4 “ภูษาอาเซียน การปรับตัว การเปลี่ยนแปลงและพลังสร้างสรรค์” (The 4th National and International Conference on Weaving ASEAN Cultural Connection “ASEAN Fabrics: Changes, Adaptation, and Creativity”) สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในระดับอาเซียน พัฒนาต่อยอดงานวิจัยไปสู่สาธารณะ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม 2562 ณ อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยได้รับเกียรติจาก Mr.Fachry Sulaiman กงสุลใหญ่แห่งอินโดนีเซีย ประจำจังหวัดสงขลา บรรยายพิเศษในหัวข้อ “ASEAN Fabrics : Significance and Value”

 

อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับสถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช วิทยาลัยนาฏศิลป์นครศรีธรรมราช และสถานกงสุลอินโดนีเซีย ประจำจังหวัดสงขลา ร่วมจัดเวทีวิชาการในครั้งนี้ โดยนำงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ทางด้านวิชาการด้านสังคมและวัฒนธรรมมาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนความรู้ และสร้างพลังความเข้มแข็ง อันจะก่อให้เกิดความร่วมมือในกลุ่มประเทศอาเซียนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ความเข้าใจในวิถีวัฒนธรรมจากผลงานการศึกษาและวิจัยของนักวิชาการ นักศึกษา และนักวิจัยต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียนลักษณ์ เพื่อนำผลงานวิชาการและบทความวิชาการในด้านสังคมและวัฒนธรรมมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่สู่สาธารณะ นอกจากนี้ยังมีการแสดงพิธีเปิดชุด “วชิรพัสตราภรณ์” โดยนักศึกษาชมรมนาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ การมอบโล่ขอบคุณหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน การเดินแบบแฟชั่นโชว์ผ้าอาเซียน และการจัดแสดงนิทรรศการผ้าอาเซียน